หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555

By ศรินนา - ปรับปรุงล่าสุด 09/12/2559
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555
 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา :

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา :

สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

 

รหัสและชื่อหลักสูตร:

ภาษาไทย :

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภาษาอังกฤษ :

Doctor of Philosophy Program in Management of Information Technology

 

ชื่อปริญญาและสาขา:

ชื่อภาษาไทย :

ชื่อเต็ม (ไทย) :
ชื่อย่อ (ไทย) :

 

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)
ปร.ด. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)

ชื่อภาษาอังกฤษ :

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :
ชื่อย่อ (อังกฤษ) :


Doctor of Philosophy (Management of Information Technology)
Ph.D. (Management of Information Technology)

 

วิชาเอก :

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

จำนวนหน่วยวิชาที่เรียนตลอดหลักสูตร :

16 หน่วยวิชา (เท่ากับ 48 หน่วยกิตในระบบทวิภาค) สำหรับผู้ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาโท

 

รูปแบบของหลักสูตร :

 รูปแบบ :

หลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี

 ภาษาที่ใช้ :

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา :

รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น :

เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา :

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

 

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

ปรัชญาและความสำคัญของหลักสูตร
     หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในระดับดุษฎีบัณฑิตในสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรับผิดชอบและมีคุณธรรม สามารถทำงานและสื่อสารร่วมกับบุคคลในสาขาวิชาชีพอื่นๆได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้ บริหาร และจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สังคม และประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการบริหาร จัดการ พัฒนางาน พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรหรือปรับปรุงคุณภาพคุณภาพของงานในองค์กรโดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถผลิตงานวิจัยเชิงบูรณาการ มีความตระหนักในคุณค่าของการดำเนินภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุดรวมทั้งสามารถเสนอแนวทางในการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะใช้เป็นแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

1. ผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรู้ ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีระดับสูง สามารถจะทำงานวิจัยที่ลุ่มลึก และสร้างนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม และสามารถปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

2. ผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีศักยภาพในการคิด วิเคราะห์ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ส่งเสริมให้สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์มีความเข้มแข็งทางวิชาการและการบริการวิชาการที่เชื่อมโยงกับงานวิจัย มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากการสะสมองค์ความรู้จากงานวิจัยในการสร้างนวัตกรรม การป้องกันและการแก้ไขปัญหาในสังคมอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ

4. สร้างเสริมบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนสร้างนักวิจัยและผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

 ระบบการจัดการศึกษา :

1. ระบบ
การจัดการศึกษาเป็นระบบไตรภาค ปีการศึกษาหนึ่งมี 3 ภาคการศึกษา โดยมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา ข้อกำหนดต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549

2. การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ไม่มี

3. การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการเรียนการสอนในระบบไตรภาค และระบบหน่วยวิชา
หน่วยวิชา หมายถึง หน่วยที่ใช้แสดงปริมาณการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 3 หน่วยกิตในระบบทวิภาค หรือ 5 ECTS (European Credit Transfer System) การกำหนดหน่วยวิชาแต่ละรายวิชามีหลักเกณฑ์ ดังนี้

- รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยวิชา

- การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดที่ได้รับมอบหมาย ที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือ กิจกรรมนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของรายวิชาภาคทฤษฎีต่อภาคการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยวิชา

- การศึกษาอิสระหรือวิทยานิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้า ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของรายวิชาภาคทฤษฎีต่อภาคการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยวิชา

 

การดำเนินการหลักสูตร :

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาที่ 1 ปลายเดือนพฤษภาคม - ปลายเดือนสิงหาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 ต้นเดือนกันยายน - ต้นเดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 3 ต้นเดือนมกราคม - ต้นเดือนเมษายน
เรียนวันเวลาปกติ จันทร์-ศุกร์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1.   ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 1.1 ซึ่งเป็นการเรียนแบบทำเฉพาะวิทยานิพนธ์นั้น ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือกำลังอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาใกล้เคียง ซึ่งมีการทำวิทยานิพนธ์ และเป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.5 หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอย่างน้อย 2 ปี และจะต้องผ่านการประเมินว่ามีศักยภาพในการทำวิจัย โดยทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตร

2.   ผู้สมัครเข้าเรียนในหลักสูตร แบบ 2.1 ซึ่งเป็นการเรียนแบบลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดและการทำวิทยานิพนธ์ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือกำลังอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่คณะกรรมการบัณฑิตประจำหลักสูตรฯ เห็นชอบ และเป็นผู้มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 และ/หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอย่างน้อย 2 ปี และจะต้องผ่านการประเมินว่ามีศักยภาพในการทำวิจัย โดยทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรฯ และคณะกรรมการฯ อาจกำหนดให้นักศึกษาเป็นรายบุคคลเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อปรับความรู้ให้สอดคล้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549

ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียน เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549

การเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา และการลงทะเบียนข้ามสถาบัน
สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาที่ขึ้นทะเบียนรับรองมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับชาติ โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 และข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาที่รับเทียบโอนด้วย

 

หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน :

1.       หลักสูตร

 จำนวนหน่วยวิชา รวมตลอดหลักสูตร 16 หน่วยวิชา
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็น 2 แผน คือ

1.       หลักสูตร แบบ 1.1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ทำวิทยานิพนธ์จำนวนไม่น้อยกว่า 16 หน่วยวิชา และศึกษาวิชาสัมมนา จำนวนไม่น้อยกว่า 4.5 หน่วยวิชา (ไม่นับหน่วยวิชา) โดยทั้งนี้ทางหลักสูตรอาจให้ศึกษารายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยวิชา แต่ต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

1.) หมวดวิชาบังคับ
     - กลุ่มวิชาสัมมนา*


4.5*


หน่วยวิชา

2.) หมวดวิชาเลือก

-

หน่วยวิชา

3.) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

16

หน่วยวิชา

รวม

16

หน่วยวิชา

2.       หมายเหตุ : * ไม่นับหน่วยวิชา 

3.       หลักสูตร แบบ 2.1สำหรับนักศึกษาที่ศึกษาต่อจากขั้นปริญญาโท เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยวิชา ศึกษารายวิชาในกลุ่มวิชาแกนรวมไม่น้อยกว่า 4 หน่วยวิชา และศึกษาวิชาสัมมนา จำนวนไม่น้อยกว่า 4.5 หน่วยวิชา (ไม่นับหน่วยวิชา) โดยทั้งนี้ทางหลักสูตร อาจให้ศึกษารายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยวิชา แต่ต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

1.) หมวดวิชาบังคับ
     - กลุ่มวิชาแกน
     - กลุ่มวิชาบังคับเลือก
     - กลุ่มวิชาสัมมนา*


4
-
4.5*


หน่วยวิชา
หน่วยวิชา
หน่วยวิชา

2.) หมวดวิชาเลือก

-

หน่วยวิชา

3.) หมวดวิทยานิพนธ์

12

หน่วยวิชา

รวม

16

หน่วยวิชา

4.       หมายเหตุ : * ไม่นับหน่วยวิชา

2.       แผนผังสรุปแผนการศึกษาหลักสูตรปริญญาเอก สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำอธิบาย: http://www.mitwu.net/2012/images/phdStructure.gif 

หมายเหตุ : ทั้ง 2 แผนการศึกษา จะต้องเรียนรายวิชาสัมมนาเพิ่ม 4.5 หน่วยวิชา โดยไม่นับหน่วยวิชา

ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรแบบ 1
แบบ 1.1

หลักสูตรแบบ 2
แบบ 2.1

1.) หมวดวิชาบังคับ
     - กลุ่มวิชาแกน
     - กลุ่มวิชาบังคับเลือก
     - กลุ่มวิชาสัมมนา*


-
-
4.5*


4
-
4.5*

2.) หมวดวิชาเลือก

-

-

3.) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

16

12

รวม

16

16

3.       หมายเหตุ : * กลุ่มวิชาสัมมนาไม่นับหน่วยวิชาสำหรับทุกแผนของหลักสูตร

4.       รายวิชา

หลักสูตร แบบ 1.1

หมวดวิชาบังคับ

4.5 หน่วยวิชา

4.5* หน่วยวิชา (ไม่นับหน่วยวิชา)

 

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

16.0 หน่วยวิชา

 

MIT-930

วิทยานิพนธ์
Thesis

16.0

 
     

    หลักสูตร แบบ 2.1

หมวดวิชาบังคับ

4.0 หน่วยวิชา

กลุ่มวิชาแกน 4 หน่วยวิชา, *รายวิชาสัมมนา (ไม่นับหน่วยวิชา)

MIT-611

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่
Modern IT Management

1.0 (4-0-8)

MIT-641

เศรษฐศาสตร์สารสนเทศ
The Information Economics

1.0 (4-0-8)

MIT-642

หัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Special Topics in IT

1.0 (4-0-8)

MIT-690

ระเบียบวิธีวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง
Advanced Research Methodology in IT

1.0 (4-0-8)

MIT-991

สัมมนา
Seminar

4.5

 

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

12.0 หน่วยวิชา

 

MIT-932

วิทยานิพนธ์
Thesis

12.0

 

5.       แผนการศึกษา

    หลักสูตร แบบ 1.1 จำนวนหน่วยวิชารวม 16 หน่วยวิชา

ชั้นปี

ภาคการศึกษา 1

ภาคการศึกษา 2

ภาคการศึกษา 3

1

MIT-930

วิทยานิพนธ์

2 (0-24-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

MIT-930 

วิทยานิพนธ์

2 (0-24-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

MIT-930 

วิทยานิพนธ์

2 (0-24-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

2

MIT-930 วิทยานิพนธ์

2 (0-24-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

MIT-930 วิทยานิพนธ์

2 (0-24-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

MIT-930 วิทยานิพนธ์

2 (0-24-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

3

MIT-930 วิทยานิพนธ์

2 (0-24-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

MIT-930 วิทยานิพนธ์

1 (0-12-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

MIT-930 วิทยานิพนธ์

1 (0-12-0) 

MIT-991 สัมมนา

0.5 (2-0-4)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 1 หน่วยวิชา

รวม 1 หน่วยวิชา

 หมายเหตุ : * กลุ่มวิชาสัมมนาไม่นับหน่วยวิชา

 

  หลักสูตร แบบ 2.1 จำนวนหน่วยวิชารวม 12 หน่วยวิชา

ชั้นปี

ภาคการศึกษา 1

ภาคการศึกษา 2

ภาคการศึกษา 3

1

MIT-611 

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศยุคใหม่

1(4-0-8)

MIT-690 

ระเบียบวิธีวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูง

1(4-0-8)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

MIT-641 

เศรษฐศาสตร์สารสนเทศ

1(4-0-8)

MIT-642 

หัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1(4-0-8)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

MIT-932 

วิทยานิพนธ์

2(0-24-0)

MIT-991 

สัมมนา

0.5(2-0-4)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

2

MIT-932 วิทยานิพนธ์

2(0-24-0)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

MIT-932 วิทยานิพนธ์

2(0-24-0)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

MIT-932 วิทยานิพนธ์

2(0-24-0)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

3

MIT-932 วิทยานิพนธ์

2(0-24-0)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

MIT-932 วิทยานิพนธ์

1(0-12-0)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

MIT-932 วิทยานิพนธ์

1(0-12-0)

MIT-991 สัมมนา

0.5(2-0-4)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 1 หน่วยวิชา

รวม 1 หน่วยวิชา

หมายเหตุ : * กลุ่มวิชาสัมมนาไม่นับหน่วยวิชา       

6.       ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์

คำอธิบายโดยย่อ
การทำวิทยานิพนธ์ คือการทำวิจัยเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและควบคุมการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาแต่ละคนจนแล้วเสร็จ พร้อมเรียบเรียงเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ และมีบทความวิจัยหรือบทความวิชาการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผ่านสื่อทางวิชาการหรือวิชาชีพต่างๆ ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการวิชาชีพ โดยรูปแบบการเขียนวิทยานิพนธ์จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ

ช่วงเวลา

 หลักสูตร แบบ 1.1 เริ่มทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 1

หลักสูตร แบบ 2.1 เริ่มทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 3 ของปีการศึกษาที่ 1


จำนวนหน่วยวิชา

หลักสูตร แบบ 1.1 ทำวิทยานิพนธ์ 16 หน่วยวิชา

หลักสูตร แบบ 2.1 ทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยวิชา


การเตรียมการ
กำหนดให้มีระบบคณะกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จัดคาบเวลาเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา จัดทำบันทึกการให้คำปรึกษา และกำหนดให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการทำวิทยานิพนธ์ โดยการสอบวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษ การศึกษางานวิจัยที่เคยมีมาก่อน การนำเสนอหัวข้อ และการสอบประมวลความรู้ 

กระบวนการประเมินผล
ประเมินการทำวิทยานิพนธ์ ในหัวข้อดังต่อไปนี้

การสอบหัวข้อและโครงร่างวิทยานิพนธ์

การรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์

การสอบวิทยานิพนธ์

 

ผลการเรียนรู้ กลยุทธิ์การสอนและการประเมินผล                                                                                    

การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา

คุณลักษณะพิเศษ

กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา

1. ความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ

ส่งเสริมทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ โดยการใช้ตำราภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน และใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนและนำเสนอผลงานวิจัย

2. ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวน การเรียนรู้และปฏิบัติงาน เช่น การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้บริการห้องสมุดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ (Journal link & VLS) และการใช้ซอฟต์แวร์พื้นฐานเป็นต้น

3. ด้านภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบ และการมีวินัย

มีการสร้างภาวะความเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานหรือการทำวิจัยร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานหรือส่งงาน และมีกติกาในการสร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าเรียนตรงตามเวลา

4. ด้านบุคลิกภาพ

มีการสอดแทรกเรื่องการแต่งกาย การเข้าสังคม การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การเจรจาสื่อสาร และการวางตัวในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในระหว่างการเรียนรู้ ทั้งทางภาคทฤษฎีและการทำการวิจัย

5. ด้านจริยธรรม  และจรรยาบรรณวิชาชีพ

มีการให้ความรู้ถึงด้านจริยธรรม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพ

6. ด้านศักยภาพในการปฏิบัติงานจริง

การเรียนการสอนมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเชิงลึก สามารถผลิตงานวิจัยที่มีประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้จริงในเชิงปฏิบัติ

 

2. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน

    2.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม

2.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีความตระหนักในคุณค่าของการดำเนินภารกิจ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต การทำประโยชน์ การป้องกันและการแก้ไขปัญหา และการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น โดยมีคุณสมบัติสรุปพอสังเขปดังนี้

1) ตระหนักในคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

2)       มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคม

3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

4)       เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

5)       เคารพกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม

6)       มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

 

2.1.2     กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในตนเอง แต่งกายเหมาะสมกับสถานภาพนักศึกษา มีความรับผิดชอบในการเข้าเรียนและการส่งงานตรงเวลา ฝึกฝนภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม รวมถึงการเคารพสิทธิ และการรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นในการปฏิบัติงานเป็นทีมและการทำงานวิจัย มีการสอดแทรกความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการเรียนการสอน ทั้งในด้านการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และการประกอบวิชาชีพ โดยเน้นในเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพเป็นสำคัญ และมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ อาทิเช่น ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ให้แก่นักศึกษา รวมทั้งมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากการองค์ความรู้ทางการ ศึกษาทั้งทางทฤษฎี ทางปฏิบัติ และจากการทำวิจัย ในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาในสังคม ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น และในระดับที่สูงขึ้น

2.1.3   กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

มีการประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ทั้งระหว่างกำลังศึกษา และภายหลังสำเร็จการศึกษา ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การใช้แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบวัดผล โดยประเมินจากหลายๆ ด้าน ดังนี้

1)   ประเมินจากการมีวินัยในการเรียน การตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน การทำงานเสร็จและส่งงานตามกำหนด

2)   ประเมินจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเป็นทีม การทำงานวิจัย และการเข้าร่วมกิจกรรมในการใช้องค์ความรู้ทางการศึกษาทำประโยชน์ต่อสังคม

3)   ประเมินจากความซื่อสัตย์ และจรรยาบรรณในการสอบ

4)    ผู้เรียนประเมินตนเอง และประเมินโดยเพื่อนและอาจารย์ โดยใช้แบบประเมินและแบบวัดผล

5)    ภายหลังสำเร็จการศึกษา ให้ดุษฎีบัณฑิตประเมินตนเอง ประเมินจากผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิต โดยใช้แบบสอบถาม

 

2.2    ด้านความรู้

2.2.1     ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

นักศึกษามีความรู้และเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในแขนงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร มีความเข้าใจและความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมได้ และมีศักยภาพในการผลิตงานวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาประเทศ 

2.2.2      กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

เป็นการจัดการเรียนรู้ในลักษณะ Research-based  ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจศาสตร์ในเชิงลึก ผสมผสานให้นำไปสู่วิธีการดำเนินการที่เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน  โดยใช้วิธีการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้จากสถานการณ์จริง มีการเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียน ห้องปฏิบัติการ การทำวิจัย และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำประโยชน์ต่อชุมชน ท้องถิ่น และในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงการทำวิทยานิพนธ์ และส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพึ่งตนเองได้ มีอิสระในการแสวงหาความรู้โดยไม่ยึดติดกับการรับข้อมูลจากผู้สอนเพียงวิธีเดียว เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจด้วยตนเอง เช่นให้มีการนำเสนองาน การร่วมแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาคิดเป็นและมีนิสัยใฝ่รู้

2.2.3     กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา  ให้ครอบคลุมใน  ทุกด้าน  ทั้งโดยการนำเสนอผลงาน การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ รวมไปถึงการสอบประมวลความรู้ การสอบวัดคุณสมบัติ และการสอบวิทยานิพนธ์

 

2.3     ด้านทักษะทางปัญญา

2.3.1     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

นักศึกษามีวิจารณญาณในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพที่เรียนมาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม และประสบการณ์จริง มาบูรณาการใช้ในการแก้ไขปัญหา การเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม

2.3.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

ใช้หลักการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดและการแก้ไขปัญหา มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการปฏิบัติงานจริง  สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านต่างๆ กับสถานการณ์จริง โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษามีความพร้อมในการปรับตัวได้ และสามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม  สามารถเข้าถึงแก่นความรู้ สามารถสร้างและอธิบายองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้

2.3.3     กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

ประเมินทักษะทางปัญญา ได้จากการแสดงออกทางการกระบวนการคิดและการแก้ไขปัญหา ผลการปฏิบัติงาน ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การอธิบาย การตอบคำถาม การโต้ตอบสื่อสารกับผู้อื่น ตกผลึกทางความคิด และคาดการณ์อนาคตในองค์ความรู้ในด้านต่างๆได้

2.4         ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

2.4.1   ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ สามารถในการปรับตัวเข้ากับกลุ่มคนต่างๆ ได้ มีความเคารพและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและสังคม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมทั้งกับผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา สามารถแสดงออกซึ่งความสามารถในการทำงานเป็นทีม และการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและผู้ตามได้ กล้าแสดงออกและมีความคิดริเริ่มในการแสดงประเด็นใหม่ๆ ในการทำงานหรือแก้ไขสถานการณ์โดยการนำความรู้ที่เรียนมาคิดวิเคราะห์และประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ เรียนรู้และพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคมอย่างต่อเนื่อง มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ทำการวิจัยและสามารถเชื่อมโยงไปยังศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้

2.4.2   กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   และความรับผิดชอบ

เน้นการเรียนการสอนที่มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนและผู้สอน การเรียนรู้และการปฏิบัติงานเป็นทีม การแสดงออกถึงภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน การวางตัวที่เหมาะสมต่อกาลเทศะ การทำกิจกรรมเพื่อสังคม การประสานงานกับผู้อื่นทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา และความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งมีความกล้าหาญทางจริยธรรม

 

2.4.3   กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  และความรับผิดชอบ

ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในหลายๆ ด้าน ระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น พฤติกรรมความสนใจ ตั้งใจเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง การแสดงบทบาทภาวะผู้นำและผู้ตามที่ดี ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบในการเรียนและงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอผลงาน การทำงานวิจัย และการร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม

 

2.5    ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.5.1   ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลหรือสถานการณ์ต่างๆ ในการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน และการทำงานวิจัยได้  สามารถเรียนรู้ศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  และรู้จักนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม มีทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด ฟัง อ่าน และเขียน ทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และมีทักษะในการนำเสนอผลงาน โดยจัดทำงานนำเสนอและเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

2.5.2   กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

มีรายวิชาสัมมนา ซึ่งนักศึกษาทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยวิชา ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทั้งด้านการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นคว้าและนำเสนองานทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และมีกิจกรรมการเรียนการสอนอื่นๆ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ เหล่านี้ ทั้งด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่น การอภิปราย และการวิเคราะห์ปัญหาจริงในการเรียนรู้และการทำงานวิจัย

2.5.3   กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเมินผลตามกิจกรรมการเรียนการสอน และการนำเสนองานโดยใช้แบบประเมินทักษะในด้านต่างๆ เหล่านี้  การทดสอบความรู้และเทคนิคการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลองเสมือนจริง และการทำงานวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนการเขียนรายงาน และการนำเสนอผลงาน

3.    แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้ จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum mapping)

แสดงให้เห็นว่าแต่ละรายวิชาในหลักสูตรรับผิดชอบต่อผลการเรียนรู้ในด้านใดบ้าง (สัมพันธ์กับการพัฒนาผลการเรียนรู้แต่ละด้านตามข้อ 2) โดยระบุว่าเป็นความรับผิดชอบหลักหรือความรับผิดชอบรอง โดยที่ผลการเรียนรู้แต่ละข้อของด้านต่างๆ ในตารางมีความหมายดังต่อไปนี้

3.1    ด้านคุณธรรม จริยธรรม

3.1.1    มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมที่ซับซ้อนเชิงวิชาการหรือวิชาชีพ โดยคำนึงถึงความถูกต้องและความรู้สึกของผู้อื่น

3.1.2    ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรอย่างเคร่งครัด 

3.1.3    สามารถวินิจฉัยปัญหาทางจรรยาบรรณอย่างผู้รู้ ด้วยความยุติธรรม ชัดเจน มีหลักฐาน และตอบสนองปัญหาเหล่านั้นตามหลักการ เหตุผล และค่านิยมอันดีงาม

3.1.4    มีความคิดริเริ่มในการยกปัญหาทางจรรยาบรรณที่มีอยู่ เพื่อการทบทวนและแก้ไขในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม

3.1.5    สนับสนุนผู้อื่นอย่างจริงจัง ให้ใช้การวินิจฉัยทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ในการจัดการกับข้อโต้แย้งและปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบทั้งต่อตนเองและองค์กร

3.1.6    มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม ในสภาพแวดล้อมของการทำงานและในชุมชนที่กว้างขวางขึ้น

 

3.2     ด้านความรู้

3.2.1    มีความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในเนื้อหาสาระหลักของสาขาการจัดการทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนหลักการและทฤษฎีที่สำคัญ และนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ

3.2.2    มีความเข้าใจทฤษฎี การวิจัย และการปฏิบัติทางวิชาชีพ ในแขนงวิชาเฉพาะต่างๆ ได้แก่  การสื่อสารข้อมูล การจัดการฐานข้อมูล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ อย่างลึกซึ้งในระดับแนวหน้า

3.2.3    มีความเข้าใจในวิธีการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้ สามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งเป็นไปตามวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดถึงผลกระทบของผลงานวิจัยในปัจจุบัน ที่มีต่อองค์ความรู้ในสาขาวิชาและต่อการปฏิบัติในวิชาชีพ

3.2.4    สามารถพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ สะสมองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อเชื่อมโยงกับการพัฒนาองค์กร พัฒนานวัตกรรม รวมถึงการป้องกันและการแก้ไขปัญหาในสังคมอุตสาหกรรม ทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น และในระดับที่สูงขึ้น ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ

3.2.5    มีความแข็งแกร่งทางวิชาการ และมีความสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ในอนาคต มีศักยภาพในการบริการวิชาการที่เชื่อมโยงกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3.2.6    เป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

 

3.3  ด้านทักษะทางปัญญา

3.3.1    สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และจัดการบริบทใหม่ทางวิชาการและวิชาชีพ ในการพัฒนาและสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองประเด็นหรือปัญหาทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม

3.3.2    สามารถสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ หรือรายงานทางวิชาชีพ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สังเคราะห์ และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยการบูรณาการแนวคิดต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกสาขาวิชาที่ศึกษาในขั้นสูง

3.3.3    สามารถประยุกต์ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรม และศาสตร์เฉพาะทาง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการวิเคราะห์ประเด็น ดำเนินการ ควบคุม หรือแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน ในทุกขั้นตอนของกระบวนการด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

3.3.4    สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจดำเนินการหรือแก้ไขปัญหาได้ ในสถานการณ์ที่มีข้อมูลประกอบไม่เพียงพอ รวมทั้งสามารถคาดคะเนปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ระบุวิธีการแก้ปัญหา และผลที่เกิดขึ้น

3.3.5    สามารถออกแบบและดำเนินการโครงการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการที่สำคัญในเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ปรับปรุงแนวปฏิบัติในวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญ  และสามารถผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ในระดับชาติ และนานาชาติ

3.4     ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

3.4.1    มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเอง ทั้งต่อหน้าที่ องค์กร วิชาชีพ และสังคม

3.4.2    สามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง ประเมินตนเอง รวมทั้งวางแผนปรับปรุงตนเองและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.4.3    มีความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ของตนเอง องค์กร วิชาชีพ และสังคม และมีความสามารถสูงในการแสดงความเห็นทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำองค์กร แก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนสูงมากด้วยตนเอง และเปลี่ยนแปลงสังคมในประเด็นที่เหมาะสม

3.4.4    สามารถทำงานเป็นทีม เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ และมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้ร่วมงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3.4.5    แสดงภาวะการเป็นผู้นำที่โดดเด่นในองค์กร บริหารการทำงานเป็นทีม และภาวะการเป็นผู้ตามในทีม ได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานของกลุ่ม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ

 

3.5  ด้านทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.5.1    สามารถคัดกรองข้อมูลและใช้หลักตรรกะทางคณิตศาสตร์และสถิติ ในการศึกษาค้นคว้าปัญหา เชื่อมโยงประเด็นปัญหาที่สำคัญและซับซ้อน และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ  โดยเฉพาะทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงลึก ได้เป็นอย่างดี

3.5.2    สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การอ่าน การฟัง การเขียน และการนำเสนอ และสื่อสารกับกลุ่มบุคคลต่างๆ ทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ รวมถึงชุมชนทั่วไปได้อย่างเหมาะสม

3.5.3    สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำวิจัยและนำเสนอรายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือโครงการค้นคว้าที่สำคัญ ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงการตีพิมพ์ผ่านสื่อทางวิชาการและวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม 

หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา                                                                                                                          

1.      กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 (ภาคผนวก ก)

2.      กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

การกำหนดระบบและกลไกการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ เกิดขึ้นเพื่อแสดงหลักฐานยืนยันหรือสนับสนุนว่านักศึกษาและดุษฎีบัณฑิตทุกคนมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ทุกด้าน เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาเอก สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นอย่างน้อย

2.1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา

การทวนสอบในรายวิชาการสัมมนา การทำวิทยานิพนธ์ จะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ โดยให้เป็นความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้ควบคุมการทำวิทยานิพนธ์ ในการออกข้อสอบหรือกำหนดกลไกและกระบวนการสอบ  และมีการประเมินแผนการสอนสัมพันธ์กับการประเมินข้อสอบ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนจากผลการสอบ โดยคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตร และ/หรือ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายในและภายนอกสถาบัน รวมถึงการประเมินอาจารย์ และมีระบบแสดงความคิดเห็นต่อการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา ส่วนการทวนสอบในระดับหลักสูตร ให้มีระบบประกันคุณภาพภายในของสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเอง ระบบประกันคุณภาพภายในระดับสำนักวิชา และระบบประกันคุณภาพภายในระดับสถาบัน เพื่อดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้และรายงานผล

 

2.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา

การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา เน้นการทำวิจัยสัมฤทธิผลของการประกอบอาชีพของดุษฎีบัณฑิต โดยทำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง แล้วนำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการประเมินคุณภาพของหลักสูตร การพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน โดยมีหัวข้อการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

2.2.1    สภาวะการได้งานทำหรือศึกษาต่อของดุษฎีบัณฑิต  ประเมินจากการได้งานทำหรือศึกษาต่อตรงตามสาขาหรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง และระยะเวลาในการหางาน โดยทำการประเมินจากดุษฎีบัณฑิตแต่ละรุ่นที่สำเร็จการศึกษา 

2.2.2    ตำแหน่งงานและความก้าวหน้าในสายงานของดุษฎีบัณฑิต

2.2.3    ความพึงพอใจของดุษฎีบัณฑิต ต่อความรู้ความสามารถที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตร ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ พร้อมกับเปิดโอกาสให้มีการเสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.2.4    ความพึงพอใจของผู้ใช้ดุษฎีบัณฑิตหรือนายจ้าง พร้อมกับเปิดโอกาสให้มีข้อเสนอแนะต่อสิ่งที่คาดหวังหรือต้องการจากหลักสูตรในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

2.2.5    ความเห็นและข้อเสนอแนะจากอาจารย์พิเศษและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ องค์ความรู้ และการปรับปรุงหลักสูตร ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางการศึกษา ภาคอุตสาหกรรมและสังคมในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

2.2.6    ผลงานของนักศึกษาและดุษฎีบัณฑิตที่สามารถวัดเป็นรูปธรรมได้ เช่น

1)   จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่

2)   จำนวนสิทธิบัตร

3.      เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร

การประเมินการสำเร็จการศึกษา เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 (ภาคผนวก ก)