หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555

By ศรินนา - ปรับปรุงล่าสุด 09/12/2559

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา :

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สำนักวิชา :

สารสนเทศศาสตร์

 

รหัสและชื่อหลักสูตร:

ภาษาไทย :

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภาษาอังกฤษ :

Master of Science Program in Management of Information Technology

 

ชื่อปริญญาและสาขา:

ชื่อภาษาไทย :

ชื่อเต็ม (ไทย) :
ชื่อย่อ (ไทย) :


วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)
วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)

ชื่อภาษาอังกฤษ :

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :
ชื่อย่อ (อังกฤษ) :


Master of Science (Management of Information Technology)
M.Sc. (Management of Information Technology)

 

จำนวนหน่วยวิชาที่เรียนตลอดหลักสูตร :

หลักสูตรไม่น้อยกว่า 12 หน่วยวิชา

 

รูปแบบของหลักสูตร :

·         รูปแบบ :

หลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตร 2 ปี

·         ภาษาที่ใช้ :

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

·         การรับเข้าศึกษา :

1.       เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2552

2.       รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ

·         ความร่วมมือกับสถาบันอื่น :

เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน

·         การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา :

ให้ปริญญาเพียงสาขาเดียว

 

อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา :

อาจารย์ นักวิจัย และผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและเอกชนซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ อาทิ ธนาคาร สถาบันการเงิน สถาบันวิจัย ฯลฯ ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือที่ปรึกษาด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับองค์กร รวมถึงผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (CIO: Chief Information Officer)

 

สถานที่จัดการเรียนการสอน :

1.       ห้องบรรยาย ใช้ห้องบรรยาย อาคารวิชาการ 5 ห้องบรรยายของบัณฑิตศึกษา หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาคาร SM Tower กรุงเทพฯ และศูนย์วิทยบริการ จ.สุราษฎร์ธานี

2.       ห้องปฏิบัติการวิจัย ใช้ห้องปฏิบัติการสารสนเทศ อาคารวิชาการ 6 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ หน่วยประสานงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาคาร SM Tower กรุงเทพฯ และห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์วิทยบริการ จ.สุราษฎร์ธานี โดยอุปกรณ์การสอนและวิจัยใช้อุปกรณ์การสอนในห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เฉพาะทาง

3.       สถานประกอบการที่เป็นแหล่งให้ประสบการณ์แก่นักศึกษา ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน เช่น เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส เป็นต้น

 

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรับผิดชอบและมีคุณธรรม สามารถทำงานและสื่อสารร่วมกับบุคคลในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้ บริหาร และจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สังคมและประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อการบริหารจัดการ พัฒนางาน พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร หรือปรับปรุงคุณภาพของงานในองค์กรโดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถผลิตงานวิจัยเชิงบูรณาการ มีความตระหนักในคุณค่าของการดำเนินภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งสามารถเสนอแนวทางในการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะใช้เป็นแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

1.       ผลิตมหาบัณฑิตทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรู้ ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถจะทำงานวิจัย และสร้างนวัตกรรมการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม และสามารถปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

2.       ผลิตมหาบัณฑิตทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีศักยภาพในการคิด วิเคราะห์ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.       ส่งเสริมให้สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์มีความเข้มแข็งทางวิชาการและการบริการวิชาการที่เชื่อมโยงกับงานวิจัย มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากการสะสมองค์ความรู้จากงานวิจัยในการสร้างนวัตกรรม การป้องกันและการแก้ไขปัญหาในสังคมอันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพ

4.       สร้างเสริมบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้เกิดการผลิตผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนสร้างนักวิจัยและผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ

 

ระบบการจัดการศึกษา :

1.       ระบบ
การจัดการศึกษาเป็นระบบไตรภาค ปีการศึกษาหนึ่งมี 3 ภาคการศึกษา โดยมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา

2.       การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ไม่มี

3.       การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการเรียนการสอนในระบบไตรภาค และระบบหน่วยวิชา 
หน่วยวิชา หมายถึง หน่วยที่ใช้แสดงปริมาณการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 3 หน่วยกิตในระบบทวิภาค หรือ 5 ECTS (European Credit Transfer System) การกำหนดหน่วยวิชาแต่ละรายวิชามีหลักเกณฑ์ ดังนี้

o    รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยวิชา

o    การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดที่ได้รับมอบหมาย ที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของรายวิชาภาคทฤษฎีต่อภาคการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยวิชา

o    การศึกษาอิสระหรือวิทยานิพนธ์ ที่ใช้เวลาศึกษาค้นคว้า ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของรายวิชาภาคทฤษฎีต่อภาคการศึกษา ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยวิชา

 

การดำเนินการหลักสูตร :

1.       วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

1.       ระยะเวลาการศึกษา
2 ปีการศึกษา

2.       การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา 
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552

3.       การประเมินผลการศึกษา
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552

4.       วันและเวลาเรียน
ภาคการศึกษาที่ 1 ปลายเดือนพฤษภาคม - ปลายเดือนสิงหาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 ต้นเดือนกันยายน - ต้นเดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 3 ต้นเดือนมกราคม - ต้นเดือนเมษายน

2.       คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1.       สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสาขาใดสาขาหนึ่ง

2.       เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2552

3.       ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบชั้นเรียน

4.       การเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา และการลงทะเบียนข้ามสถาบัน
สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาที่ขึ้นทะเบียนรับรองมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับชาติ โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2552 และข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษาที่รับเทียบโอน

 

หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน :

1.       หลักสูตร
จำนวนหน่วยวิชา รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 12 หน่วยวิชา

2.       โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็น 3 แผน คือ

1.       แผน ก แบบ ก 1 เน้นการศึกษาวิจัยเฉพาะด้านอย่างลุ่มลึก โดยผู้ศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัมมนาทุกภาคการศึกษาและต้องทำวิทยานิพนธ์

2.       แผน ก แบบ ก 2 เน้นการศึกษารายวิชาและวิจัยเฉพาะด้านอย่างลุ่มลึก โดยผู้ศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดและต้องทำวิทยานิพนธ์

3.       แผน ข เน้นการศึกษารายวิชา เพื่อให้มีความรู้ทางด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้ศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาต่างๆ ตามที่หลักสูตรกำหนด และต้องมีการทำโครงงานทางการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Exam)


ตารางเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา

แผน ก แบบ ก 1

แผน ก แบบ ก 2

แผน ข

1.) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

-

2*

2*

2.) หมวดวิชาบังคับ

1.5*

7

7

3.) หมวดวิชาเลือก

-

1

3.5

4.) หมวดวิชาโครงงาน

-

-

1.5

5.) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

12

4

-

รวม

12

12

12

หมายเหตุ : * ไม่นับหน่วยวิชา

3.       รายวิชา

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

 

เป็นรายวิชาที่นักศึกษาทุกคนจะต้องลงทะเบียนศึกษาและสอบผ่านทุกรายวิชาโดยไม่นับหน่วยวิชารวมในหลักสูตร ซึ่งมีเกณฑ์การวัดผลในลักษณะ S (Satisfactory) หรือ U (Unsatisfactory) โดยการวัดผลต้องได้ในลักษณะ S จึงจะถือว่าสอบผ่าน ทั้งนี้คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจพิจารณายกเว้นให้นักศึกษาบางรายไม่ต้องลงทะเบียนศึกษาในรายวิชาเสริมพื้นฐาน หากพิจารณาแล้วว่านักศึกษามีความรู้อย่างเพียงพอในรายวิชาดังกล่าวแล้ว โดยมีรายวิชาเสริมพื้นฐานทั้งสิ้น 4 รายวิชา ดังนี้
หมายเหตุ : * ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

ITM-601

การบัญชีสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*
Accounting for IT Professional

0.5 (2-0-4)

ITM-602

เศรษฐศาสตร์สำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*
Principles of Economics for IT Professional

0.5 (2-0-4)

ITM-603

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ* 
IT applications

0.5 (2-0-4)

ITM-604

แนวคิดการเขียนโปรแกรม
Programming Concepts

0.5 (2-0-4)

 

หมวดวิชาบังคับ

8.0 หน่วยวิชา

หมายเหตุ : * ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

ITM-605

วิธีวิจัย
Research methodology

0.5 (2-0-4)

ITM-621

การวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร
Enterprise Resource Planning

0.5 (2-0-4)

ITM-631

การพัฒนาระบบสารสนเทศ
Information System Development

1.0 (4-0-8)

ITM-641

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์
Computer Organization

0.5 (2-0-4)

ITM-651

การจัดการสมัยใหม่
Modern Management

1.0 (4-0-8)

ITM-652

การจัดการกระบวนการธุรกิจ
Business Process Management

0.5 (2-0-4)

ITM-653

นวัตกรรมและการประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
IT Innovation and Entrepreneurship

1.0 (4-0-8)

ITM-654

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
IT Management

1.0 (4-0-8)

ITM-661

ระบบฐานข้อมูล
Database systems

1.0 (4-0-8)

ITM-691

สัมมนา 1*
IT Seminar I

0.5 (0-4-2)

ITM-692

สัมมนา 2*
IT Seminar II

0.5 (0-4-2)

ITM-693

สัมมนา 3*
IT Seminar III

0.5 (0-4-2)

ITM-694

สัมมนา 4*
IT Seminar IV

0.5 (0-4-2)

ITM-695

สัมมนา 5*
IT Seminar V

0.5 (0-4-2)

ITM-696

สัมมนา 6*
IT Seminar VI

0.5 (0-4-2)

 

หมวดวิชาเลือก

3.5 หน่วยวิชา

 

ITM-711

การประยุกต์ใช้บนเว็บ
Web applications

0.5 (2-0-4)

ITM-721

ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
E-business

0.5 (2-0-4)

ITM-722

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์
E-customer Relationship Management

0.5 (2-0-4)

ITM-723

การจัดการห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์
E-supply Chain Management

0.5 (2-0-4)

ITM-724

ระบบการจัดการความรู้
Knowledge Management System

0.5 (2-0-4)

ITM-731

วิศวกรรมซอฟต์แวร์
Software engineering

0.5 (2-0-4)

ITM-732

การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์
Human-Computer Interaction

0.5 (2-0-4)

ITM-741

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
Computer network and internet technology

0.5 (2-0-4)

ITM-742

การจัดการความมั่นคงของเครือข่าย
Network Security Management

0.5 (2-0-4)

ITM-751

การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
IT Auditing

0.5 (2-0-4)

ITM-752

การจัดการความมั่นคงของข้อมูล
Information Security Management

0.5 (2-0-4)

ITM-753

การจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
IT Risk Management

0.5 (2-0-4)

ITM-761

ข่าวกรองธุรกิจ
Business Intelligence

0.5 (2-0-4)

ITM-771

เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการประยุกต์
Multimedia Technology and Applications

0.5 (2-0-4)

ITM-772

การผลิตสื่อใหม่
New Media Production

1.0 (4-0-8)

ITM-781

หัวข้อพิเศษด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1
Special topics in IT 1

0.5 (2-0-4)

ITM-782

หัวข้อพิเศษด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2
Special topics in IT 2

0.5 (2-0-4)

 

หมวดวิชาโครงงาน

1.5 หน่วยวิชา

 

ITM-911

โครงงาน
Project

1.5 (0-18-0)

 

หมวดวิชาวิทยานิพนธ์

4.0 หน่วยวิชา

 

ITM-920

วิทยานิพนธ์
Thesis

12.0 (0-48-0)

ITM-921

วิทยานิพนธ์
Thesis

1.0

 

4.       ความหมายของรหัสวิชา

5.       รหัสวิชา ประกอบด้วย รหัสตัวอักษรและรหัสตัวเลข
รหัสตัวอักษร คือ สาขาวิชา มีความหมายดังนี้
ITM หมายถึง Information Technology Management

6.      
เลขหลักที่ 1 มีความหมายดังนี้

7.       6 หมายถึง ชั้นปีที่ 1 ในระดับบัณฑิตศึกษา
7 หมายถึง ชั้นปีที่ 2 ในระดับบัณฑิตศึกษา
9 หมายถึง กลุ่มวิชาโครงงาน/วิทยานิพนธ์ ซึ่งจำแนกเป็น
     91 หมายถึง กลุ่มวิชาโครงงาน/การศึกษาอิสระ
     92 หมายถึง กลุ่มวิชาวิทยานิพนธ์สำหรับปริญญาโท

8.      
เลขหลักที่ 2 ใช้ระบุกลุ่มวิชาดังต่อไปนี้

9.       0 หมายถึง กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน
1 หมายถึง กลุ่มวิชาการเขียนโปรแกรม โครงสร้างข้อมูล 
2 หมายถึง กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศ
3 หมายถึง กลุ่มวิชาระเบียบวิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ
4 หมายถึง กลุ่มวิชาสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และความมั่นคง
5 หมายถึง กลุ่มวิชาการจัดการ
6 หมายถึง กลุ่มวิชาฐานข้อมูล การจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
7 หมายถึง กลุ่มวิชามัลติมีเดีย แอนิเมชัน
8 หมายถึง กลุ่มวิชาหัวข้อพิเศษทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
9 หมายถึง กลุ่มวิชาสัมมนา

10.   
เลขหลักที่ 3 หมายถึง ลำดับรายวิชาในกลุ่ม

11.    แผนการศึกษา

1.       หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 จำนวนหน่วยวิชารวม 12 หน่วยวิชา

ชั้นปี

ภาคการศึกษา 1

ภาคการศึกษา 2

ภาคการศึกษา 3

1

ITM-920 วิทยานิพนธ์

12.0 (0-48-0)

ITM-691 สัมมนา 1*

0.5 (0-4-2)

ITM-920 วิทยานิพนธ์

12.0 (0-48-0)

ITM-692 สัมมนา 2*

0.5 (0-4-2)

ITM-920 วิทยานิพนธ์

12.0 (0-48-0)

ITM-693 สัมมนา 3*

0.5 (0-4-2)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

2

ITM-920 วิทยานิพนธ์

12.0 (0-48-0)

ITM-694 สัมมนา 4*

0.5 (0-4-2)

ITM-920 วิทยานิพนธ์

12.0 (0-48-0)

ITM-695 สัมมนา 5*

0.5 (0-4-2)

ITM-920 วิทยานิพนธ์

12.0 (0-48-0)

ITM-696 สัมมนา 6*

0.5 (0-4-2)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 2 หน่วยวิชา

2.       หมายเหตุ : * ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

3.        

4.       หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 จำนวนหน่วยวิชารวม 12 หน่วยวิชา

ชั้นปี

ภาคการศึกษา 1

ภาคการศึกษา 2

ภาคการศึกษา 3

1

ITM-601 การบัญชีสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*

0.5 (2-0-4)

ITM-602 เศรษฐศาสตร์สำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*

0.5 (2-0-4)

ITM-603 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ*

0.5 (2-0-4)

ITM-604 แนวคิดการเขียนโปรแกรม

0.5 (2-0-4)

ITM-651 การจัดการสมัยใหม่

1.0 (4-0-8)

ITM-641 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

0.5 (2-0-4)

ITM-652 การจัดการกระบวนการธุรกิจ

0.5 (2-0-4)

ITM-661 ระบบฐานข้อมูล

1.0 (4-0-8)

ITM-653 นวัตกรรมและการประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.0 (4-0-8)

ITM-605 วิธีวิจัย

0.5 (2-0-4)

ITM-621 การวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร

0.5 (2-0-4)

ITM-631 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

1.0 (4-0-8)

รวม 1 หน่วยวิชา

รวม 3 หน่วยวิชา

รวม 3 หน่วยวิชา

2

ITM-921 วิทยานิพนธ์

1 หน่วยวิชา

ITM-691 สัมมนา 1*

0.5 (0-4-2)

ITM-xxx วิชาเลือก 1

0.5 (2-0-4)

ITM-xxx วิชาเลือก 2

0.5 (2-0-4)

ITM-921 วิทยานิพนธ์

1.5 หน่วยวิชา

ITM-692 สัมมนา 2*

0.5 (0-4-2)

ITM-921 วิทยานิพนธ์

1.5 หน่วยวิชา

ITM-696 สัมมนา 6*

0.5 (0-4-2)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 1.5 หน่วยวิชา

รวม 1.5 หน่วยวิชา

5.       หมายเหตุ : * ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

6.        

7.       หลักสูตรแผน ข จำนวนหน่วยวิชารวม 12 หน่วยวิชา

ชั้นปี

ภาคการศึกษา 1

ภาคการศึกษา 2

ภาคการศึกษา 3

1

ITM-601 การบัญชีสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*

0.5 (2-0-4)

ITM-602 เศรษฐศาสตร์สำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*

0.5 (2-0-4)

ITM-603 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ*

0.5 (2-0-4)

ITM-604 แนวคิดการเขียนโปรแกรม

0.5 (2-0-4)

ITM-651 การจัดการสมัยใหม่

1.0 (4-0-8)

ITM-641 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

0.5 (2-0-4)

ITM-652 การจัดการกระบวนการธุรกิจ

0.5 (2-0-4)

ITM-661 ระบบฐานข้อมูล

1.0 (4-0-8)

ITM-653 นวัตกรรมและการประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.0 (4-0-8)

ITM-605 วิธีวิจัย

0.5 (2-0-4)

ITM-621 การวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร

0.5 (2-0-4)

ITM-631 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

1.0 (4-0-8)

ITM-654 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.0 (4-0-8)

รวม 1 หน่วยวิชา

รวม 3 หน่วยวิชา

รวม 3 หน่วยวิชา

2

ITM-911 โครงงาน

0.5 หน่วยวิชา

ITM-691 สัมมนา 1*

0.5 (0-4-2)

ITM-xxx วิชาเลือก 1

0.5 (2-0-4)

ITM-xxx วิชาเลือก 2

0.5 (2-0-4)

ITM-xxx วิชาเลือก 3

0.5 (2-0-4)

ITM-911 โครงงาน

0.5 หน่วยวิชา

ITM-692 สัมมนา 2*

0.5 (0-4-2)

ITM-xxx วิชาเลือก 4

0.5 (2-0-4)

ITM-xxx วิชาเลือก 5

0.5 (2-0-4)

ITM-911 โครงงาน

0.5 หน่วยวิชา

ITM-696 สัมมนา 6*

0.5 (0-4-2)

ITM-xxx วิชาเลือก 6

0.5 (2-0-4)

ITM-xxx วิชาเลือก 7

0.5 (2-0-4)

รวม 2 หน่วยวิชา

รวม 1.5 หน่วยวิชา

รวม 1.5 หน่วยวิชา

8.       หมายเหตุ : * ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

12.    ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์และโครงงาน

โดยให้ดำเนินการตาม ข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549 ในหัวข้อหลักดังนี้

1.       การทำวิทยานิพนธ์และโครงงาน

1.       การทำวิทยานิพนธ์
การทำวิทยานิพนธ์ คือการทำวิจัยเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและควบคุมการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาแต่ละคนจนแล้วเสร็จ พร้อมเรียบเรียงเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ และมีบทความวิจัยหรือบทความวิชาการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผ่านสื่อทางวิชาการหรือวิชาชีพต่างๆ ที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพ

หลักสูตร วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) แผน ก แบบ ก 1 กำหนดให้นักศึกษาที่จะเข้าศึกษาได้ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไปหรือมีประสบการณ์ตรงในวิชาชีพซึ่งจะตอบสนองการทำวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ (โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์) โดยการทำวิทยานิพนธ์ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์จะต้องผ่านการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์

หลักสูตร วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) แผน ก แบบ ก 2 กำหนดให้นักศึกษาที่จะทำวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ของสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ โดยการทำวิทยานิพนธ์ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยหัวข้อวิทยานิพนธ์จะต้องผ่านการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์

คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เพื่อดำเนินการสอบเป็นรายๆ ไป โดยคณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2549

2.       การทำโครงงาน (การศึกษาค้นคว้าอิสระ) 
หลักสูตร วท.ม. (การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ) แผน ข กำหนดให้นักศึกษาต้องทำโครงงานด้านระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงงาน 1 ปี หรือ 3 ภาคการศึกษาภายใต้การให้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน โดยหัวข้อโครงงานจะต้องผ่านการสอบประเมินหัวข้อโครงงาน

2.       มาตรฐานผลการเรียนรู้ 
นักศึกษามีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคิดและวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีหลักการ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในแขนงต่างๆ และผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน (ดังแสดงในหมวดที่ 4 ข้อ 2) มาใช้ในการทำวิทยานิพนธ์และโครงงานได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ

3.       ช่วงเวลา

1.       หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 เริ่มทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 1

2.       หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 เริ่มทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 2

3.       หลักสูตรแผน ข เริ่มทำโครงงานตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ของปีการศึกษาที่ 2

4.       จำนวนหน่วยวิชา

1.       หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 ทำวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยวิชา

2.       หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์ 4 หน่วยวิชา

3.       หลักสูตรแผน ข ทำโครงงาน 1.5 หน่วยวิชา

5.       การเตรียมการ
กำหนดให้มีระบบคณะกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และโครงงาน จัดคาบเวลาเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา จัดทำบันทึกการให้คำปรึกษา และกำหนดให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนการทำวิทยานิพนธ์และโครงงาน การศึกษางานวิจัยที่เคยมีมาก่อน การนำเสนอหัวข้อ การรายงานความก้าวหน้า การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์และโครงงาน

6.       กระบวนการประเมินผล
ประเมินการทำโครงงานประกอบด้วย

1.       การสอบประเมินหัวข้อโครงงาน โดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.       การประเมินความก้าวหน้าของการทำโครงงาน โดยคณะกรรมการประเมินงานต้นแบบ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.       การสอบประเมินผลของการทำโครงงานที่แล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

4.       นักศึกษาจะต้องจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้ประกอบการประเมิน

 

คำอธิบายรายวิชา

1)  หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

           ITM-601   การบัญชีสำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*                                0.5(2-0-4)

                   Accounting for IT Professional

แนวคิดทางการบัญชี รูปแบบของการทำบัญชีและรายงานการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน ระบบงบประมาณและระบบต้นทุนมาตรฐาน การวิเคราะห์การลงทุน

Basic accounting concepts; accounting and financial reports; financial statement analysis; budgeting and standard cost systems; capital investment analysis.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

            ITM-602   หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเทคโนโลยีสารสนเทศ*                        0.5(2-0-4)

                Principles of Economics for IT Professional

หลักพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ในระดับจุลภาคและมหภาค  โดยเน้นศึกษาในเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค การผลิตและต้นทุนการผลิต โครงสร้างตลาดที่มีการแข่งขันในลักษณะต่างๆ ทฤษฎีและนโยบายเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ นโยบายเกี่ยวกับการเงิน และการค้าระหว่างประเทศ

Principles of economic analysis at micro and macro levels focusing on customer behavior, analysis of cost and production, market structure for competition, theory and gross national product policies; international financial and commerce policies.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

              ITM-603   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ*                               0.5(2-0-4)

                 IT Applications

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม การเกษตร การเงิน การผลิต สาธารณสุข กฎหมาย บันเทิงและการศึกษา  

The applications of information technology in both public and private sectors; the applications of information technology in different business areas such as environment, agriculture, finance, manufacturing, healthcare, laws, entertainment and education.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

ITM-604   แนวคิดการเขียนโปรแกรม*                                                 0.5(2-0-4)

             Programming Concepts

ปัญหาและการแก้ปัญหา ขอบเขตของปัญหา การวิเคราะห์การแก้ปัญหา ข้อมูลเข้าและผลลัพธ์ การเขียนขั้นตอนวิธี โดยใช้ผังงานและซูโดโค้ด โครงสร้างโปรแกรม ค่าคงที่ ประเภทของข้อมูล ตัวแปรและการกำหนดค่า คำสั่งประเภทต่างๆ ได้แก่ การรับและส่งข้อมูล การตัดสินใจและการวนซ้ำ การค้นหาและเรียงลำดับ

Problem and problem solving; scope of problem; analysis of problem solving; input data and output data; algorithm writing through flowchart and pseudocode; program structure; constant; data types; variables and assignment; statements; input and output; decision and iteration; subroutine; search and sorting.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

2) หมวดวิชาบังคับ   

ITM-605   ระเบียบวิธีวิจัย                                                               0.5(2-0-4)

             Research Methodology

หลักและระเบียบวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบของการเสนอโครงงานวิจัย การวิเคราะห์ ปัญหาเพื่อกำหนดหัวข้องานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การออกแบบงานวิจัย การประเมินผลงานวิจัย การนำเสนอผลงานวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย

Research principles and methods in information technology; forms of research proposal; problem analysis for research topic identification; literature review; research design; evaluation of research; presentation of research work; writing research paper.

 

ITM-621   การวางแผนทรัพยากรสำหรับองค์กร                                       0.5(2-0-4)

             Enterprise Resource Planning

ฟังก์ชั่นและกระบวนการทางธุรกิจ การพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร ระบบสารสนเทศการตลาดและการขาย การผลิตและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ระบบบัญชี ระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การสร้างแบบจำลองกระบวนการ การปรับปรุงกระบวนการและการดำเนินการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Business functions and business processes; the development of enterprise resource planning (ERP) systems; marketing information systems and the sale order process; production and supply chain Management Information; accounting in ERP Systems; human resources processes with ERP; process modeling; process improvement and ERP implementation; ERP and electronic commerce.

 

ITM-631   การพัฒนาระบบสารสนเทศ                                                 1(4-0-8)

             Information System Development

ระบบสารสนเทศและองค์การ การจัดการโครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ การวางแผนระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การสร้างระบบ การใช้งาน การสนับสนุนการใช้งานและความมั่นคงของระบบ

Information systems and organization; IT project management; systems planning; systems analysis; systems design; systems implementation; systems operation, support and security.

 

ITM-641   องค์ประกอบคอมพิวเตอร์                                                   0.5(2-0-4)

             Computer Organization

องค์ประกอบหลักของระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ระบบนำข้อมูลเข้าและส่งออก ระบบจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ต่อพ่วง การวิเคราะห์และวัดประสิทธิภาพในการทำงาน การเขียนคุณสมบัติทางเทคนิคของระบบคอมพิวเตอร์

The main components of a computer system; processing unit; memory; I/O system; storage system; peripheral: system software; performance measurement and analysis; how to write the computer’s technical specification.

 

ITM-651   การจัดการสมัยใหม่                                                          1(4-0-8)

              Modern Management

การจัดการสมัยใหม่ขั้นแนะนำ ความท้าทายการจัดการสมัยใหม่ การวางแผน การจัดระบบ การโน้มน้าว และการควบคุม

Introduction to modern management; modern management challenge; planning; organizing; influencing; controlling.

 

ITM-652   การจัดการกระบวนการธุรกิจ                                               0.5(2-0-4)

             Business Process Management

หลักการและกลวิธีของการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจ ขอบเขตของกระบวนการในองค์กร พื้นฐานของการจำลองกระบวนการธุรกิจ การวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนกระบวนการในองค์กร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปรับเปลี่ยน พื้นฐานการบูรณาการธุรกิจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบูรณาการ

Principles and tactics of business process reengineering; scoping an enterprise process; foundations of business process modeling; analysis redesign of an enterprise process; IT solutions enabling the redesigned; foundations of business integration; IT solutions enabling IT integration.

 

ITM-653   นวัตกรรมและการประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ              1(4-0-8)

             IT Innovation and Entrepreneurship

คุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความรับผิดชอบต่อสังคม รูปแบบของธุรกิจ การจัดตั้งองค์กรธุรกิจ ปัญหาและอุปสรรคของการทำธุรกิจใหม่โดยเน้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  การแสวงหาโอกาสทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดทำแผนธุรกิจตลอดจนการประยุกต์แนวคิดของการประกอบธุรกิจมาปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์การทั่วไป การคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ การจัดการนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา

Essential characteristics and entrepreneurship skill for IT business; social responsibility; forms of business ownership; how to setup a business organization; problems and obstructions for small and medium business; opportunities in IT business; business plan development and implementation; idea generation using IT; innovations and entrepreneurship; innovation and intellectual properties management.

 

ITM-654   การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ                                          1(4-0-8)

             IT Management

การจัดการในยุคข้อมูลข่าวสาร ความสำคัญของกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์และแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร ทรัพยากรด้านโปรแกรมใช้งานและการจัดหามาใช้ การพัฒนาและจัดการเกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้า ข้อตกลงเกี่ยวกับการให้บริการ การวัดความคุ้มค่าและผลตอบแทนจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การควบคุมและการป้องกันทรัพยากร บทบาทของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงขององค์กร มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Management in the information age; IT ‘s strategic Importance; IT’s strategy and strategic plan of the organization; application portfolio resource and acquisitions; developing and managing customer expectation; Service Level Agreement (SLA); measuring IT investment and their returns; controls and asset protection; CIO’s role; IT standard.

 

ITM-661   ระบบฐานข้อมูล                                                            1(4-0-8)

             Database Systems

ฐานข้อมูลและการประยุกต์ใช้งาน วัฎจักรการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การจำลองข้อมูล แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ ภาษาสั่งงานในการใช้ฐานข้อมูล ระเบียบวิธีออกแบบฐานข้อมูล การจัดทำรูปแบบบรรทัดฐาน การติดตามและปรับแต่งระบบ

Database and applications; database system development lifecycle; data modeling; relational model; database languages; design methodology; normalization; monitoring and tuning the operational system.

 

ITM-691   สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1*                                     0.5(0-4-2)

             IT Seminar I                                                             

การค้นคว้าและนำเสนอหัวข้อการทำวิจัย (โครงงานหรือวิทยานิพนธ์) ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Exploring and giving a presentation on a research topic for IT project or thesis.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

ITM-692   สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2*                                     0.5(0-4-2)

             IT Seminar II

การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสนอความก้าวหน้าการทำวิจัย (โครงงานหรือวิทยานิพนธ์) เป็นภาษาอังกฤษ

Giving a presentation on a progress of the research conducting in English.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

ITM-693   สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3*                                     0.5(0-4-2)

             IT Seminar III

การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสนอความก้าวหน้าการทำวิจัย (โครงงานหรือวิทยานิพนธ์) เป็นภาษาอังกฤษ

Giving a presentation on a progress of the research conducting in English.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

ITM-694   สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4*                                     0.5(0-4-2)

             IT Seminar IV

การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสนอความก้าวหน้าการทำวิจัย (โครงงานหรือวิทยานิพนธ์) เป็นภาษาอังกฤษ

Giving a presentation on a progress of the research conducting in English.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

ITM-695   สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 5*                                     0.5(0-4-2)

             IT Seminar V

การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสนอความก้าวหน้าการทำวิจัย (โครงงานหรือวิทยานิพนธ์) เป็นภาษาอังกฤษ

Giving a presentation on a progress of the research conducting in English.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

ITM-696   สัมมนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 6*                                     0.5(0-4-2)

             IT Seminar VI

การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสนอผลของงานวิจัย (โครงงานหรือวิทยานิพนธ์) เป็นภาษาอังกฤษ

Giving a presentation on research finding in English.

         หมายเหตุ  *ใช้ระบบเกรด S/U และไม่นับหน่วยวิชา

 

3)  หมวดวิชาเลือก

 

ITM-711   การประยุกต์ใช้บนเว็บ                                                       0.5(2-0-4)

             Web Applications                                                       

เอชทีเอ็มแอล คาสเคดดิ้งสไตล์ชีท จาวาสคริปต์ เอชทีเอ็มแอลแบบไดนามิก การเขียนโปรแกรม บนเว็บเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส เอ็กซ์เอ็มแอล

HTML; cascading style sheet; Javascript; dynamic HTML; coding script programs on client-server architecture; database programming; XML; web services.

 

ITM-721   ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์                                                          0.5(2-0-4)

             E-business 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจและพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ สภาวะแวดล้อมเชิงอิเล็กทรอนิกส์ กลยุทธ์ด้านธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ พฤติกรรมผู้บริโภค การวิจัยตลาดและการโฆษณา ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างบริษัทกับบริษัท และระหว่างบริษัทกับรายย่อย ห่วงโซ่อุปทานในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือกันในการทำธุรกิจ นวัตกรรมของระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ  การโกงและระบบจ่ายเงิน การใช้งานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และการบำรุงรักษา

Introduction to e-business and e-commerce; e-business infrastructure; e-environment; e-business strategy; e-procurement; e-marketing; Consumer Behavior, Market Research, and Advertising; B2B and B2C e-commerce; E-Supply Chains, Collaborative Commerce; Innovative E-Commerce Systems; mobile commerce; Fraud and payment systems; e-business implementation and maintenance.

 

ITM-722   การจัดการลูกค้าสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์                                     0.5(2-0-4)

E-customer Relationship Management

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจำแนกประเภทลูกค้า ระบบสารสนเทศกับข้อมูลลูกค้า คลังข้อมูลด้านการจัดการลูกค้า สัมพันธ์ ความเชื่อมั่นของลูกค้า กลยุทธ์ในการคงไว้ของลูกค้า การขายอัตโนมัติ เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ กรณีศึกษา

Overview of customer relationship management(CRM); customer differences; information system and customer data; CRM data warehouse; customer loyalty; customer retention strategies; sales force automation; computerized decision support tools; issues for implementing CRM systems; case studies.

 

ITM-723   การจัดการห่วงโซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์                                    0.5(2-0-4)

             E-supply Chain Management

แนวคิดด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน  เครือข่ายลอจิสติกส์  การจัดการสินค้าคงคลัง  หุ้นส่วนในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน การออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศเพื่อใช้งานร่วมในห่วงโซ่อุปทาน

Supply chain management concepts; logistics network; inventory management; strategic partnering in supply chain management; design and construction of IT system for collaboration in supply chain.

 

ITM-724   ระบบการจัดการความรู้                                                     0.5(2-0-4)

             Knowledge Management System

ความรู้ การเรียนรู้ และประสิทธิภาพ วัฎจักรของความรู้: การสร้าง การรวบรวม การสืบค้น และการใช้งาน งานและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการ จัดการความรู้ วัฒนธรรมองค์กรและการจัดการความรู้ นโยบายในการจัดการความรู้

Knowledge, learning and performance in the knowledge economy; knowledge cycle: creation, collection, retrieval, and use; knowledge tasks and knowledge workers; knowledge management opportunities in the enterprise; tools and techniques; organization culture and knowledge management; knowledge management implementation strategies.

 

ITM-731   วิศวกรรมซอฟต์แวร์                                                         0.5(2-0-4)

             Software Engineering                                                   

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิศวกรรมซอฟต์แวร์ กระบวนการทางซอฟต์แวร์ วิศวกรรมระบบและวิศวกรรมความต้องการ การวิเคราะห์ความต้องการ การออกแบบซอฟต์แวร์ การจัดการโครงการซอฟต์แวร์ การวัดซอฟต์แวร์ การประมาณการจัดตารางเวลาการทำงาน การจัดการความเสี่ยง การจัดการเชิงคุณภาพ การจัดการการเปลี่ยนแปลง  การตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องของซอฟต์แวร์ การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์

Introduction to software engineering; software process; system and requirements engineering; analysis model; software design; software project management; software metrics; estimation; project scheduling; risk management; quality management; change management; software verification and validation; software maintenance.

 

ITM-732   การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และคอมพิวเตอร์                                   0.5(2-0-4)

             Human-Computer Interaction

ความเข้าใจและแนวคิดเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ ความเข้าใจผู้ใช้  การออกแบบเพื่อใช้งานร่วมกันและการสื่อสาร  ผลของการใช้อินเทอร์เฟซต่อผู้ใช้  การออกแบบการปฏิสัมพันธ์ การระบุและกำหนดความต้องการของผู้ใช้ การออกแบบ แบบจำลองการสร้าง การออกแบบปฏิสัมพันธ์โดยมีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง แนวทางการประเมิน ทดสอบ

Understanding and conceptualizing interaction; understanding user; designing for collaboration and communication; interfaces effect; interaction design; identifying needs and establishing requirement; design, prototyping and construction; user-centered approaches to interaction design; evaluation framework; testing.

 

ITM-741   เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต                          0.5(2-0-4)

             Computer Network and Internet Technology                   

โครงสร้างของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมแบบเลเยอร์ แบบจำลองการสื่อสารแบบทีซีพี/ไอพี กลไกการสื่อสารในเลเยอร์ต่างๆและโปรโตคอลในระดับแอพพลิเคชัน ทรานสปอร์ตเน็ตเวิร์ค และดาต้าลิงค์ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและการประยุกต์ใช้งาน แนวโน้มของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

Structures of computer networks; layered architecture; TCP/IP protocol; stack, service models and protocols in application, transport, network and data link layers; internet technology and applications; trends of internet technology.

 

ITM-742   การจัดการความมั่นคงของเครือข่าย                                       0.5(2-0-4)

             Network Security Management

พื้นฐานเกี่ยวกับความมั่นคงของเครือข่าย การพัฒนานโยบายเกี่ยวกับความมั่นคง การดูแลด้านความมั่นคงขององค์กร ระบบดูแลด้านความมั่นคงแบบกายภาพ สถาปัตยกรรมด้านการจัดการความมั่นคง การพิจารณาออกแบบเครือข่าย สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับการควบคุมความถูกต้องและพร้อมใช้งาน บทบาทชองเครือข่ายในด้านความมั่นคง

Network security foundation; security policy development; security organization; physical security; security management architecture; network design consideration; integrity and availability architecture; network role based security.

 

 

ITM-751   การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ                                    0.5(2-0-4)

             IT Auditing

การตรวจสอบและการควบคุมภายใน การตรวจสอบการบริหารควบคุมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความมั่นคง กิจกรรมในการพัฒนาระบบและการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม ระบบประมวลผลรายการและออกรายงานการเงิน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือและเทคนิค การตรวจสอบวงจรรายได้ การตรวจสอบวงจรรายจ่าย ระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร จริยธรรมในธุรกิจ การทุจริต และการตรวจจับทุจริต

Auditing and internal control; auditing IT governance controls; security; systems development and auditing; transaction processing and financial reporting system; computer-assisted audit tools and techniques; auditing the revenue cycle; auditing the expenditure cycle; enterprise resource planning systems; business ethics, fraud, and fraud detection.

 

ITM-752   การจัดการความมั่นคงของข้อมูล                                           0.5(2-0-4)

             Information Security Management

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการด้านความมั่นคงของข้อมูล การวางแผนด้านความมั่นคงของข้อมูล การวางแผนในกรณีไม่ปกติ  นโยบายด้านความมั่นคงของข้อมูล การพัฒนาแผนความมั่นคงของข้อมูล แบบจำลองการจัดการความมั่นคงของข้อมูลและแนวปฏิบัติ การจัดการความเสี่ยง กลไกในการป้องกันข้อมูล ความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงของข้อมูล กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง

Introduction to management of information security; planning for information security; planning for contingencies; information security policy; developing the information security program; information security management model and security management practice; risk management; information protection mechanism; personal and security; law and ethics. 

 

ITM-753   การจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ                            0.5(2-0-4)

             IT Risk Management

ข้อบังคับและโอกาสของการจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ; การกำหนดการจัดการความเสี่ยงด้านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ; มาตรฐานการจัดการความเสี่ยง; วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความเสี่ยง; การประเมินองค์กรและการกำหนดกรอบการจัดการความเสี่ยง; การจัดเตรียมทีมเพื่อจัดการความเสี่ยง; การวางแผนฟื้นฟู.

IT risk management imperatives and opportunities; IT risk management defined; IT risk management standards; risk management methods and tools; assessing organization and establishing risk management scope; implementing the risk management team; remediation planning.

 

ITM-761   ข่าวกรองธุรกิจ                                                               0.5(2-0-4)

             Business Intelligence

ภาพรวมของข่าวกรองธุรกิจ การวิเคราะห์เชิงธุรกิจและนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ แบบจำลองระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ดาต้าแวร์เฮาส์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ระเบียบวิธีการจัดการผลสัมฤทธิ์เชิงธุรกิจ การทำเหมืองข้อมูล กรณีศึกษาของการวิเคราะห์ข้อมูล

Overview of business intelligence; business analytics and data visualization; decision support system modeling; data warehousing for decision support; business performance management methodologies; data mining; data analysis case study.

 

ITM-771   เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการประยุกต์                                       0.5(2-0-4)

             Multimedia Technology and Applications

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมัลติมีเดีย องค์ประกอบของมัลติมีเดีย เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เช่น ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 และ 3 มิติ ระบบความจริงเสมือน ระบบความจริงผสม มัลติมีเดียแบบโต้ตอบได้ การประยุกต์ใช้มัลติมีเดียในงานต่างๆ เช่น ด้านเกม ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านการโฆษณา

Introduction to multimedia; components of multimedia; multimedia technology: 2D&3D animations, virtual reality, and augmented reality; interactive multimedia; multimedia applications in games, medicine, educations, and advertising.

 

ITM-772   การผลิตสื่อใหม่                                                              1(4-0-8)

             New Media Production

การวางแผนการผลิต ขั้นตอนก่อนการผลิต: การเขียนบท การเขียนบทภาพ และการออกแบบตัวละคร ขั้นตอนการผลิต: การสร้างแบบจำลอง 2 มิติ และ 3 มิติ การสร้างผิวสัมผัส การเร็นเดอร์ และการกำหนดการ เคลื่อนไหว ขั้นตอนหลังการผลิต: การจัดองค์ประกอบ การใส่เสียงและการทำเทคนิคพิเศษ

Production planning; reproduction: scriptwriting, storyboarding, and character design; production: Modeling 2D and 3D, texturing, rendering, and animating; Postproduction: composition, sounding, and effect.

 

ITM-781   หัวข้อพิเศษด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1                                    0.5(2-0-4)

             Special Topics in IT I

หัวข้อที่น่าสนใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Topics of Interested which are related to information technology.

 

ITM-782   หัวข้อพิเศษด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2                                  0.5(2-0-4)

             Special Topics in IT II

หัวข้อที่น่าสนใจทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Topics of Interested which are related to information technology.

 

4) หมวดวิชาโครงงาน

ITM-911   โครงงาน                                                                    1.5 หน่วยวิชา

             Project

ศึกษาค้นคว้าวิจัยและทำโครงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้การดูแลแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาโครงงาน

Researching and implementing the project in the area of information technology under supervision.

5)  หมวดวิชาวิทยานิพนธ์   

ITM-920   วิทยานิพนธ์                                                                12 หน่วยวิชา

             Thesis

วิจัยและเสนอผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้การดูแลแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Research conducting and presentation in the area of information technology under supervision.

 

ITM-921   วิทยานิพนธ์                                                                4 หน่วยวิชา

             Thesis

วิจัยและเสนอผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้การดูแลแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Research conducting and presentation in the area of information technology under supervision.