ปริญญาโท

By ศรินนา - ปรับปรุงล่าสุด 24/08/2560
                     หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในระดับบัณฑิตศึกษา  ในสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรับผิดชอบและมีคุณธรรม สามารถทำงานและสื่อสารร่วมกับบุคคลในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถเรียนรู้ บริหาร และจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สังคมและประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อการบริหารจัดการ พัฒนางาน พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร หรือปรับปรุงคุณภาพของงานในองค์กรโดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถผลิตงานวิจัยเชิงบูรณาการ มีความตระหนักในคุณค่าของการดำเนินภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งสามารถเสนอแนวทางในการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะใช้เป็นแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
 
 
จุดเด่นของหลักสูตร
 
1)         เน้นการทำวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับนโยบาย “ประเทศไทย 4.0”
2)         มีความร่วมมือกับต่างประเทศ
3)         มีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย สามารถทำวิจัยโดยใช้เครื่องมือในการทำวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4)         นักศึกษามีทักษะในการทำวิจัย และสามารถนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ
 
แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการควบคุม การดูแลให้คำปรึกษาโครงงานแก่บัณฑิตศึกษา

1. นักศึกษาผ่านการเสนอโครงร่างงานวิจัยแล้ว ทางหลักสูตรฯ ควรให้นักศึกษายื่นสอบประเมินความก้าวหน้าของการทำวิจัยในภาคการศึกษาที่ 2หรือ 3 ในชั้นปีที่ 2และหลักสูตรฯ ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนรายงานทางวิชาการสำหรับบัณฑิตศึกษา” ให้แก่นักศึกษาเพื่อเร่งรัดให้นักศึกษาสามารถจัดเตรียมเล่มรายงานเพื่อยื่นสอบประเมินความก้าวหน้าโครงงาน

2. นักศึกษาที่ผ่านการประเมินความก้าวหน้าของการทำวิจัยมาแล้ว หลักสูตรควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนรายงานทางวิชาการสำหรับบัณฑิตศึกษา” ให้แก่นักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 3 เพื่อเร่งรัดให้นักศึกษาสามารถจัดเตรียมเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อยื่นสอบป้องกันโครงงาน

 

แนวปฏิบัติที่ดีในการช่วยเหลือ กำกับ ติดตามในการทำวิทยานิพนธ์และโครงงาน และการตีพิมพ์ผลงานระดับบัณฑิตศึกษา มีแนวทางปฏิบัติดังนี้

1.      เปิดรายวิชา ITM-605 ระเบียบวิธีวิจัย ในปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 เพื่อให้นักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการวิจัยมาก่อนเข้าใจกระบวนการวิจัยและการจัดเตรียมโครงร่างงานวิจัยให้แล้วเสร็จในชั้นปีที่  1
2.      หลักสูตรฯ ให้ข้อมูลแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในประเด็นต่อไปนี้
         - จรรยาบรรณนักวิจัย ปัญหาการคัดลอกผลงานวิจัย และปัญหาของวารสารที่ไม่มีคุณภาพ
         - การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ
3. หลักสูตรฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเพื่อการทำวิจัย
4. นักศึกษาผ่านการเสนอโครงร่างงานวิจัยมาแล้ว  ทางหลักสูตรควรให้นักศึกษายื่นสอบประเมินความก้าวหน้าของการทำวิจัยในภาคการศึกษาที่ 2หรือ 3 ในชั้นปีที่ 2
5. นักศึกษาที่ผ่านการประเมินความก้าวหน้าของการทำวิจัยมาแล้ว หลักสูตรควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนรายงานทางวิชาการสำหรับบัณฑิตศึกษา” ให้แก่นักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 3 เพื่อเร่งรัดให้นักศึกษาสามารถจัดเตรียมเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อยื่นสอบป้องกันโครงงาน
6. หลักสูตรฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทความวิชาการเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเขียนบทความวิชาการและสามารถเขียนบทความวิชาการได้
7. ประกาศข่าวเรื่องการจัดประชุมวิชาการในเว็บไซต์ของหลักสูตรฯ

แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานของหลักสูตรฯ โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้

1.     ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
2.     กําหนดแนวทางในการทําวิจัยใหสอดคลองกับนโยบายในการพัฒนาประเทศและความกาวหนาในศาสตร์
3.     สำรวจความต้องการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นต่อการวิจัยจากนักศึกษา
4.     ประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 
5.     จัดทำโครงการของบประมาณสำหรับขอจัดซื้อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 
6.     กำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้